Technical Analysis กับยุคปัจจับัน

ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา Technical Analysis( ผมใช้ย่อ ว่า TA แทนนะครับ ) ได้รับความนิยมและได้รับการยอมรับในหมู่เทรดเดอร์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในตลาดเก็งกำไร เช่น ค่าเงิน น้ำมัน หรือแม้แต่ในตลาดหุ้นเองก็ตาม แต่ผมเชื่อหลายๆคนที่เริ่มเทรด หรือ เทรดมาซักพัก เริ่มที่ใช้ TA เป็นกันมากขึ้น เคยตั้งคำถามกันไหมละครับว่าปัจจุบันการใช้ TA นั้นยังสามารถใช้ได้อยู่หรือไม่? เพราะหลายคนอาจจะคิดว่าเครื่องมือทั้งหลายๆที่เราใช้ๆกันอยู่ บางอย่างมีอายุนับ 100 ปี กับตลาดปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงไปมากมาย รวมถึงบางคนที่อาจจะเคยใช้ และเริ่มรู้สึกว่าได้กำไรน้อย ขาดทุนบ่อยขึ้น หรือ เปลี่ยนเครื่องมือไป เปลี่ยนเครื่องมือมา อันนี้ใช้ได้ปีนี้ ปีนั้นใช้อันนั้น หรือบางทีเอาเครื่องมือหลายๆตัวมารวมกันเลยแบบไม่เข้าใจกันก็มี วันนี้ผมจะมาแบ่งปันในทัศนะของผม(ของผมคนเดียวนะครับ) ในเรื่องนี้กัน
ก่อนอื่นเลยผมจะไม่ขอพูดถึง TA ที่เป็นแบบ Subjective เช่น pattern ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Head and Shoulder ,Double Top , Double Bottom และอีกเยอะแยะมากมาย ที่เครื่องมือเหล่านี้เป็นแนว Subjective คือ แต่ละคนอาจจะมองไม่เหมือนกันได้ครับ ทั้งที่ในกราฟเดียวกันต่างคนก็มีทัศนะคติต่างกันไป ยกตัวอย่างง่ายๆ เอาคน 100 คนมาลาก Trend line ผมก็เชื่อว่า ได้ออกมาไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นผมจะพูดถึงที่เป็นแบบ Objective เช่นพวก Indicators ต่างๆ เพราะว่าไม่ว่าจะเป็นใครก็ย่อมได้ค่าเดียวกัน
สิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้คนใช้ TA แล้วไม่ประสบความสำเร็จเลยคือ “ความเข้าใจ” ในเครื่องมือที่เราจะใช้ ข้อจำกัดสำคัญที่สุดในการใช้ TA คือ “RANDOM” หรือ ความไม่แน่นอน (หรือ บางทีอาจจะรวมความผันผวนไปด้วยก็ได้ไม่ว่ากัน ) Indicators ส่วนใหญ่ที่เราใช้กันส่วนใหญ่เป็นการคำนวณแบบ Linear แปลเอาง่ายๆคือแบบไม่ได้ซับซ้อนอะไร (แบบ non-linear ก็มีนะครับ แต่ไม่ค่อยมีให้ใช้ แถมยังต้องใช้ความเข้าใจในการใช้พอสมควร) ซึ่งไม่สามารถจัดการหรือทำงานได้ดีในสภาวะที่มีความ ไม่แน่นอนสูงได้
ถ้าดูจากตลาดในปัจจุบัน มีทั้ง Computer trading ที่เป็นทั้ง High Frequency Trading (HFT ) ที่เทรดได้ในระดับ ไมโครวินาที (เร็วขนาดไหนให้เอา 1 วินาที หารด้วย 1 ล้านส่วนดู ผมว่าน่าจะเร็วกว่าเราเห็นกราฟแล้วไปสู่สมองซะอีก) และ Algorithmic trading แน่นอนว่าความผันผวนและความไม่แน่นอนในตลาดนั้นย่อมมีสูงมากตามไปด้วย ทำให้การใช้เครื่องมือเทคนิคคอลต่างๆ ยากขึ้นตามไปด้วย
ถ้าเราจะกลับมาดูประโยชน์ที่เราใช้เครื่องมือเทคนิคคอล นั้นก็เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจ หรือพยายามจะคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต (คงไม่ถึงกับเดาอนาคตได้ แต่ช่วยคาดการณ์เบื้องต้นได้ ) เรามาดูตัวอย่างเช่น เครื่องมือจำพวกเกี่ยวการเคลื่อนตัวต่างๆ หรือหลายๆคนเรียกว่า Trend เช่น จำพวก Moving Average แบบต่างๆ ซึ่งถ้าเราใช้ไม่ถูกต้องเรามักจจะเจอสัญญาณหลอกอยู่เป็นประจำ
การใช้เครื่องมือเหล่านี้ เราจะใช้เพื่อเป็นตัวแทนของข้อมูล เราเคยตั้งข้อสงสัยกันไหมครับทำไมต้องใช้ MA100 , MA200 ,MA20 หรืออะไรก็ตามแต่ แล้วอะไรที่เราจะใช้เป็นตัวแทนข้อมูลได้ดีกว่ากัน 
ซึ่งจริงๆแล้วค่าต่างๆเหล่านี้เราใช้ในเชิงเปรียบเทียบ หรือหาค่ากลาง หรือเทียบกับรอบการเคลื่อนที่กับราคาในสินค้านั้น แต่ถ้าเราเจอในสภาวะที่มีความไม่แน่นอนมากๆ คงจะยากที่จะเลือกได้อย่างถูกต้อง เพราะราคามันไม่ได้เคลื่อนที่แบบราบเรียบเหมือนกับทฤษฎีที่เราเรียนกันมา แต่มักจะมาพร้อมกับความผันผวนและความไม่แน่นอนของราคาตามาด้วย เปรียบเทียบเหมือนนักแม่นปืน ต้องยิงเป้าหมาย ในสภาวะที่มีคนอยู่รอบข้างเยอะๆ ก็ยากที่จะยิงเป้าหมายได้ถูกต้อง
ดังนั้นหากจะถามผมว่า TA ยังใช้ได้ไหม ผมบอกว่ายังใช้ได้ครับ แต่มันจะยากขึ้น วิธีการคือเราต้องหาข้อจำกัดของเครื่องมื้อนั้นๆที่เราใช้ และพยายามกรองข้อมูลที่หรือสัญญาณที่เป็นจุดอ่อนของเครื่องมือนั้นออกซะ จะช่วยให้ทำงานได้ดีขึ้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Linear Vs Non Linear

Volatility

เส้นค่าเฉลี่ยน (Moving Average)